วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

หน่วยที่ 5 ดนตรีพื้นบ้าน

หน่วยที่ 5 ดนตรีพื้นบ้าน

                        
                    ประเทศไทยแบ่งพื้นที่ตามเขตการปกครองออกเป็น 4 ภาค ซึ่งในแต่ละภาคต่างมีสภาพภูมิศาสตร์ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้คน ขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป จึงมีอิทธิพลทำให้ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านของไทในพื้นที่ต่างๆ มีความแตกต่างกันตามไปด้วย การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านของไทยและประวัคิสังคีตกวีดนตรีพื้นบ้าน จะช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบของดนตรีพื้นบ้านของไทย สามารถอธิบายและเปรียบเทียบลักษณะเด่นของงานดนตรีในแต่ละวัฒนธรมได้ รวมทั้งสามารถนำแบบอย่างที่ดีของศิลปินพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและวงดนตรีพื้นบ้านต่อไป

      

ความสำคัญและลักษณะของดนตรีพื้นบ้าน

1. ความสำคัญและลักษณะของดนตรี
พื้นบ้าน
                 ดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนในแต่ละท้องถิ่นที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิ่น เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์สืบทอดต่อไป

 1.1 ความสำคัญ

             ดนตรีพื้นบ้าน หมายถึง ดนตรีและเพลงที่ปรากฏอยู่ในแต่ละท้องถิ่นของแต่ะกลุ่มชน ชุมชนและภูมิภาค ซึ่งสาระของดนตรีพื้นบ้านจะแสดงถึงภูมิปัญญาเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น และยึดถือปฏิบัติพัฒนาสืบทอดต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับร่วมกันในกลุ่มสังคม และ วัฒนธรรมนั้น
             ดนตรีพื้นบ้านมีส่วนช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งของชาวบ้านในชุมน ทางด้านจิตใจ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และระบบสังคมของชุมชน    


1.2 ลักษณะ
           ดนตรีพื้นบ้านมีความครอบคลุมถึงเครื่องดนตรี วงดนตรี บทร้อง ทำนองเพลง สำหรับความเป็นวงดนตรีพื้นบ้านีลักษณะที่พิจารณาได้ ดังนี้
 1. ดนตรีพื้นบ้านเป็นงานศิลปะดนตรีทีเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของชาวบ้านในชุมชน โดยมุ่งสื่อสารเรื่องราวจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
2. ดนตรีมีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ทั้งด้านทำนองเพลง จังหวะ ภาาา เนื้อร้อง และวิธีการบรเลง ใช้ฉันทลักษณ์ที่ไม่ซับซ้อน
3. ดนตรีพื้นบ้านเป็นสมบัติของชุมชน คนในชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ทั้งเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อร่วมกิจกรรมที่เป็นพิธีกรรมตามความเชื่อ
4. ดนตรีพื้นบ้านไม่มีการจดบันทึก มีการสืบทอดกันทางมุขปาฐะ
5. ดนตรีพื้นบ้าน ปรากฏในรูปแบบของเครื่องดนตรีและวงดนตรี มีบทบาทในการบรรเลงเดี่ยวเฉพาะศิลปิน หรือบรรเลงเป็นวง

อ้างอิง https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-3-kar-ptibati-dntri-thiy/kenth-ni-kar-pramein-khunphaph-phl-ngan-dntri-thiy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น