หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย
ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดออกมาเป็ยนทำนองและอารมณ์ของเพลงที่ดำเนินไปตามจินตนาการของนักประพันธ์เพลง ดนตรีมีคุณค่าต่อมนุษย์ในการปรุงแต่งชีวิตให้มีความสุข เป็นสื่อเสริมแต่งให้กิจกรรมทางประเพณีและวัฒนธรรมของมนุษย์ให้มีตความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดนตรีไทยเป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมของคนไทย มีคุณค่าและความงามที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิถีชีวิตไทย มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตตราบจนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็ีบทบาทในการช่วยสะท้อนค่านิยมและความเชื่อของผู้คนในสังคมไว้ในงานดนตรีอีกด้วย
คุณค่าและความงามของดนตรีไทย
เพลงไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ 3 ประการ คือ เพลงเพื่อพิธีกรรม เพลงเพื่อประกอบการแสดงและเพลงที่ใช้บรรเลงในโอกาสทั่วๆ ไป เพลงไทยจึงมีแนวเพลงที่ดำเนินไปอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการ
3) ดนตรีกับการบำบัดรักษา
การเจ็บป่วยของมนุษย์ จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ อาการเจ็บป่วยทางกาย และอาการเจ็บป่วยทางใจ สำหรับในส่วนของดนตรี สามารถนำมาบำบัดผู่ป่วยที่เรียกว่า "ดนตรีบำบัด " ซึ่งใช้บำบัดทั้งทางกายและจิตใจ
4) ดนตรีกับการศึกษา
ในหลายสังคมและวัฒนธรรมถือว่าดนตรีเป็นวิชาของชนชั้นสูงและนักปราชญ์ราชบัณฑิตดนตรีบางประเภทได้รับการพัฒนาไปตามภูมิปัญญาของนักปราชญ์ทางดนตรี เช่น ดนตรีจีน ดนตรีกรีก ดนตรีอินเดีย เป็นต้น
5) ดนตรีกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
การโฆษณา หมายถึง การป่าวประกาศ การบอกกล่าว การเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ เช่น การโฆษณาสินค้า เป็นต้น ส่วนการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารข้อมูลต่างๆ ให้รับรู้และเข้าใจถูกต้องตรงกัน การใช้ดนตรีในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของไทยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกว่า " ตีฆ้องร้องป่าว "
6) ดนตรีกับธุรกิจ
การประกอบอาชีพดนตรีในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่ที่ศิลปินผู้สร้างผลงานการประพันธ์เพลงแต่ยังรวมไปถึงการเป็นนักดนตรี นักร้อง วาทยกรที่ทำหน้าที่อำนวยการให้จังหวะวงดนตรี ผู้เรียบเรียงเพลงหรือผู้รับจ้างบรรเลงดนตรีในรูปของคณะดนตรี ดังที่ปรากฏในงานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลองต่างๆ
อ้างอิง https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-1-khwam-ru-thawpi-keiyw-kab-dntri-thiy/dntri-thiy-kab-kar-prayukt-chi
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น