วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

หน่วยที่ 3 การปฏิบัติดนตรีไทย

หน่วยที่ 3 การปฏิบัติดนตรีไทย

        
                  ดนตรีไทยเป็นศิลปะของไทยแขนงหนึ่งที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน มีความผุกพันกับิถีชีวิตของคนไทยอย่างแนบแน่น ทำให้เกิดความเชื่อและขนบธรรมเนียมปฏิบัติหลายอย่างที่นักดนตรีบัติดนตรีไทยไทยทุกคนพึงรู้และศึกษาไว้ การปฏิบัติดนตรีไทยชนิดใดก็ตามในเบื้องต้นผู้ฝึกปฏิบัติต้องศึกาาเกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่องดนตรี  การปฏิบัติเครื่องดนตรี โน้ตเพลงสำหรับฝึกปฏิบัติ รวมทั้งต้องศึกาารูปแบบการบรรเลงและการขับร้องดนตรีไทย ตอกจนเกณฑ์การประเมิน ทักษะทางดนตรีของตนเอง หลังจากการฝึกปฏิบัติดนตรีไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะทางดนตรีของตนเองต่อไป


ขนบธรรมเนียมปฏิบัติของดนตรีไทย



    ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์อย่างแยกแยะไม่ได้ ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นตามภาคต่างๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชุมชนให้ความนับถือ เมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น คนในชุมชนที่มาร่วมพิธีจะเกิดความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้

พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา

พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วยความเชื่อและความศรัทธา

ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป

พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม



รูปแบบการขับร้องเพลงไทย


       เมื่อครั้งที่ผ่านมาได้นำความรู้เกี่ยวกับมารยาทการฟังเพลงไทยมาฝาก ครั้งนี้จะเป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติเบื้องต้นที่ดีในการขับร้อง เป็นความรู้เกี่ยวกับ วิธีการนั่ง การใช้กำลังเสียง การผ่อนลมหายใจ จังหวะในการแบ่งส่วนย่อยของเพลง การออกเสียงอักขระ และการออกเสียงเอื้อน
          
          ๑. การนั่ง เริ่มแรกของการฝึกท่านั่ง นั่งพับเพียบ ซึ่งเป็นลักษณะแบบไทยๆ หน้าตรง ไม่ก้มหน้า ไม่เหลียวหน้าเหลียวหลัง การนั่งพับเพียบดูเรียบร้อยงามตาตามลักษณะวัฒนธรรมไทย การนั่งตัวตรงไม่เหลียวไปมา เป็นลักษณะที่ถูกต้องตามหลักของสรีรสัทศาสตร์ คือ ช่วยให้สามารถระบายลมหายใจเข้า-ออก ได้สะดวก ช่วยให้ทุกส่วนในร่างกายปลอดโปร่ง ทำให้เสียงดังและไม่เหนื่อยแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ขับร้องเพลงไทยไม่จำเป็นต้องนั่งพับเพียบเสมอไป การนั่งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสและสถานที่ เช่นในบางโอกาสต้องนั่งเก้าอี้ ที่สำคัญคือ ต้องนั่งตัวตรงไม่เหลียวไปมาตามที่กล่าวแล้ว

          ๒. การใช้กำลังเสียง กำลังเสียงหมายถึงการออกเสียงดังอย่างเต็มที่ในช่วงระยะลมหายใจแต่ละช่วง ออกเสียงให้เต็มที่ไม่ออมแรง การฝึกให้ร้องเต็มเสียงนี้ จะทำให้รู้กำลังของตัวเองว่าช่วงหายใจแต่ละช่วงจะออกเสียงได้นานเท่าใด เพราะในขณะที่เสียงออกจะเป็นช่วงของการระบายลมหายใจออกเท่านั้น เวลาฝึกอ้าปากเล็กน้อยเพื่อให้เสียงออกได้ชัดเจนและไม่ขึ้นจมูก

          ๓. การผ่อนเลาหายใจ ช่วงระยะของการหายใจมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขับร้องเพลงไทย ควรรู้ระยะการผ่อนหายใจในแต่ละวรรค แต่ละช่วงด้วย ฝึกอ่านหนังสือให้ถูกวรรคตอน และได้ใจความ ฝึกให้กักลมหายใจไว้แล้วค่อยๆผ่อนเมื่อหมดวรรคเพราะปกติแล้ว คนเราหายใจเข้าทุกๆ ๕ วินาที แต่ถ้าเราพูดประโยคยาวๆเราเปลี่ยนอัตราการหายใจเข้าออก ปกติเราจะพูดเวลาหายใจออกเท่านั้น การผ่อนหายใจจึงมีส่วนสัมพันธ์กับกำลังเสียงเป็นอย่างมาก ถ้าเราสามารถกักลมหายใจไว้ได้นาน จะช่วยให้เอื้อนหรือเปล่งเสียงได้ยาวตามต้องการ

            ๔. จังหวะ คือการแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลง ซึ่งดำเนินไปด้วยเวลาอันสม่ำเสมอ จังหวะเป็นสิ่งสำคัญควรรู้จักรักษาให้ถูกต้อง คือ ให้มีความสม่ำเสมอ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป การแบ่งช่วงหายใจมีส่วนช่วยในเรื่องจังหวะเป็นอย่างมาก เคาะจังหวะเวลาร้องเพลงทุกครั้ง

            ๕. อักขะระดี ในที่นี้หมายถึงการเปล่งถ้อยคำให้ถูกต้อง ชัดเจน การร้องเพลงไทยให้ชัดเจนนั้น ดูเหมือนว่ายากกว่าการพูดให้ชัด ทั้งนี้เพราะนอกจากจะระมัดระวังการใช้อวัยวะในการกล่อมเสียง เช่น ปาก ลิ้น ฟัน ฯลฯ ให้ถูกต้องแล้ว ยังต้องระวังระดับเสียง ท่วงทำนองและวรรคตอนให้ถูกต้องอีกด้วย การฝึกอักขระควรฝึกในหัวข้อต่อไปนี้
             ก. ร้องให้ถูกตามบทริองเช่น พุทธา นุภาพ นำผล
             ข. ออกเสียง ร ล หรือควบกล้ำให้ชัดเจน
             ค. ออกเสียงสั้นยาวให้ถูกต้อง เช่น เสร็จ สนุก ฯลฯ

  ควรอ่านบทร้องก่อน โดยให้รู้จักวรรคตอนให้ถูกต้องตามลักษณะของบทร้อง ฝึกออกเสียง ร ล ฯลฯ คำสั้น-ยาว ให้ถูกต้องเสียก่อนจึงเริ่มขับร้อง
        
               ๖. เสียงเอื้อน สัญลักษณ์ของเพลงไทย คือการทำเสียงให้เป็นทำนองเรียกว่า เสียงเอื้อน เสียงเอื้อนเป็นเสียงที่ผ่านออกมาจากลำคอโดยตรง มีอยู่มากมายหลายเสียงและมีที่ใช้ต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงบางเสียงที่ใช้กันมาก
             ก. เสียงเออ เป็นเสียงสำคัญมาก คือ มีหน้าที่เป็นเสียงนำ ใช้กันมากในการขับร้อง

          วิธีทำเสียง “เออ”
    ตั้งตัวให้ตรง เพื่อประโยชน์ในการออกเสียง อ้าปากเล็กน้อย พร้อมกับเปล่งกระแสเสียงออกจากคอให้ดังพอสมควร บังคับเสียงให้มีน้ำหนักที่คอแรงหน่อย กระดกปลายลิ้นขึ้นไม่ให้โดนฟันล่าง และบน เพื่อให้เสียงโปร่งและชัดเจน ระบายเสียงออกไปเรื่อยๆอย่าให้ฟันบนและฟันล่างกระทบกันการใช้กำลังเสียงควรเป็นระดับเดียวกัน โดยไม่ต้องขยับคาง
             ข. เสียงเอย มีที่ใช้ในตอนสุดวรรค หรือหมดเอื้อน หรือวรรค ของเอื้อน จะขึ้นบทร้อง
           วิธีทำเสียง “เอย”
ลักษณะการออกเสียงเป็นไปเช่นเดียวกับการออกเสียง “เออ” แต่เมื่อจะให้เป็นเสียง “เอย” ก็ให้เน้นที่มุมปาก โดยให้ปลายลิ้นแตะฟันล่าง
( ความรู้ที่นำมาฝาก เป็นความรู้ที่ ดร. สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ และคณะ เขียนไว้ในหนังสือ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ครูพริ้ง กาญจนผลิน พ.ศ. ๒๕๒๙ )

รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย



     หลักและวิธีการบรรเลงดนตรี

                  หลักและวิธีการบรรเลงดนตรีโดยทั่วไป ได้แก่ การนั่งหรือยืนบรรเลงด้วยบุคลิกที่สง่างาม หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ไม่เกร็ง มีสมาธิ จัดท่าท่างการจับอปุกรณ์คสนตรีและปฏิบัติตามวิธีการของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
รูปแบบการบรรเลงดนตรี
                  1.การบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น บรรเลงทำนองเพลง หรือการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น
                  2.การบรรเลงหมู่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรี ๒-๙ ชิ้น โดยใช้เครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน หรือ หลายประเภท
                  3.การบรรเลงหมู่ขนาดใหญ่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรีจำนวนมากและจัดรูปแบบเช่นเดียวกับวงโยธวาทิต

                การฝึกปฏิบัติการขับร้องและบรรเลงดนตรี1.การจำเพลง ได้แก่ การออกเสียงตามสัญญาณมือ ๑-๒ แนว การออกเสียงตามโน้ตทำนองเพลง การระบุชื่อเพลงจากโน๊ตทำนองเพลงที่นักเรียนรู้จัก
                   2.การด้นสด หมายถึง การคิดแนวขับร้องและบรรเลงดนตรีใหม่โดยทันที ได้แก่ การสร้างรูปแบบของจังหวะเพื่อใช้บรรเลงเพลงประกอบทำนองเพลง ออกเสียงและบรเลงดนตรีตามโน้ตในกุญแจเสียงต่าง ๆ
การฝึกปฏิบัติการขับร้องเดี่ยว ขับร้องหมู่และขับร้องประสานเสียง
เริ่มจากการขับร้องจนสามารถขับร้องในกลุ่มได้ถูกต้อง จึงฝึกการขับร้องเดี่ยวและขับร้องเพลงปรานเสียง

                  เพลงสำหรับการขับร้องเดี่ยวและขับร้องหมู
    1. เพลงพื้นเมือง
     2.เพลงไทย
     3.เพลงสากล

                   เพลงประสานเสียง
    1.เพลงวน
    2.เพลงประสานเสียง 2 แนว
    3.เพลงประสานเสียง 3 แนว

                   การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีเฉพาะอย่าง

           1.เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงจังหวะ
       1.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น โทน กลองยาว ฉิ่ง เป็นต้น
       1.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น
       1.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น กลองเบส กลองแท็ก ฉาบ เป็นต้น

            2. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนอง
        2.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น ระนาด อังกะลุง ฉาบ เป็นต้น
        2.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาดเอก ขลุ่ย ซออู้ ฮอด้วง เป็นต้น
        2.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น เมโลเดียน คีย์บอร์ด ไวโอลีน กีตาร์ เป็นต้น

        การบรรเลงดนตรี
การรบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีสร้างทำนองเพียงเครื่องเดียว โดยมีเครื่องเคาะจังหวะบรรเลงประกอบด้วย ปกติเพลงที่ใช้บรรเลงเดี่ยวจะเป็นเพลงขับร้องและบรรเลงหมู่ทั่วไป
               ซออู้
เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ โดยเฉพาะในพิธีเชิญผีไท้ ผีแถน การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์ขึ้นให้สอดตล้องกับธรรมชาติของเสียงในขณะที่มรเสียงต่ำก็จะใช้ซออู้แทนเพื่อให้คล้ายคลึงกับเสียงผู้เฒ่า ใช้ซอด้วงแทนเสียงหนุ่มสาวซออู้แทนเสียงธรรมชาติ
ลักษณะของซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่งและใช้หนังลูกวัวขึงหน้าซอ กว้างประมาณ 13-14เซนติเมตร เจาะกโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อให่คันทวนที่ทำไม้ผ่านกะโหลกลงไปออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันลูกบอกซออู้ยาวประมาณ 17-18เซนติเมตร ใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอกเวลาสี ส่วนคันสีชองซออู้ทำด้วยไม่ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ใช้ขนหางม้าประมาณ 160-200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงามและเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้



           

กณฑ์ในการประเมินคุณภาพผลงานดนตรีไทย


       เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ของกระบวนการทางการเรียนทักษะในวิชาดนตรี โดยระบบการศึกษาเมื่อมีการเรียนย่อมมีการวัดและการประเมินผลการเรียน เพื่อให้ทราบว่า ผู้เรียนได้เรียนสิ่งใดไปบ้าง มากน้อยเพียงใด และได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างไร สำหรับผู้สอน การวัดและประเมินผลทำให้ทราบด้วยว่า กระบวนการเรียนการสอนประสบความสำเร็จเพียงใด มีสิ่งใดที่ดีหรือสิ่งใดควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อทำให้การเรียนการสอนในครั้งต่อไปพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น การวัดและประเมินผลจึงควรมีหลักการ มีระบบ มีการจัดการที่ครอบคลุม มีความรัดกุม ความสะดวก และให้ผลตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ การวัดและประเมินผลดนตรี จึงเป็นเรื่องสำคัญและสามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ในหลายแง่มุม

ในการวัดและประเมินผลนั้น การเรียนในวิชาทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือการประเมินผลในกระบวนการ และการประเมินผลหลังการเรียนการสอน ( กิ่งกาญจน์ สิรสุคนธ์, 25450 )ในกระบวนการเรียนดนตรีนั้นแม้ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราคาดหวังคือการแสดงออกถึงประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในภาพรวมทั้งหมด อาจเป็นการแสดงดนตรีเพื่อสอบ หรือการสอบเนื้อหาวิชาดนตรีในช่วงปลายภาคเรียน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนในระหว่างการศึกษาของผู้เรียน (อาจเห็นได้ชัดเจน ในเรื่องการเรียนทักษะทางเครื่องดนตรี) ผลการประเมินในลักษณะนี้ไม่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนได้ทันที แต่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไปที่ผู้สอน สอนในวิชานั้นๆอีกครั้งหนึ่งในอนาคตได้ ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2547 )เมื่อใดที่การสอนไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากผู้เรียนไม่เข้าใจ ผู้สอนก็ต้องพยายามคิดหาเทคนิคการสอน การอธิบายหรือสาธิตให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นในทันทีหรือในการเรียนชั่วโมงถัดไป

การประเมินผลในกระบวนการจึงน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนทักษะดนตรี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถของนักเรียน ซึ่งผู้สอนสามารถประเมินและปรับปรุงแก้ไขปัญหาของผู้เรียนได้ทันท่วงที ซึ่งในปัจจุบันได้มีการวัดและประเมินผลรูปแบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการวัดและประเมินตนเองได้ ซึ่งส่งผลดีหลายอย่างในกระบวนการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเรียนด้าน  เช่น นักเรียนได้มีการจัดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง รู้ถึงกระบวนการเรียน ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง เห็นถึงเนื้อหาและผลลัพธ์ทางการเรียนที่ตนจะต้องไปถึง อันเป็นผลดีต่อการจัดการทางด้านการเรียน และลดเวลาในการประเมินของครูผู้สอนอีกด้วย วิธีการนี้คือ การวัดและประเมินผลแบบ รูบริค (Rubrics)

รูบริคจะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ช่วงชั้นความสามารถหรือเกณฑ์ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติ ทักษะต่างๆของผู้เรียน และระดับคุณภาพหรือระดับคะแนน เกณฑ์จะบอกผู้สอนหรือผู้ประเมินว่าการปฏิบัติงานหรือผลงานนั้น ๆ จะต้องครอบคลุมพิจารณาถึงสิ่งใดบ้าง ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนจะบอกว่า การปฏิบัติทักษะนั้นๆสมควรจะได้ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนใดของเกณฑ์แต่ละตัว (ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์, 2544) รูบริคจึงเป็นเหมือนการกำหนดลักษณะเฉพาะ ที่ผู้เรียนและผู้สอนได้ตั้งข้อตกลงร่วมกันก่อนการเรียนและระหว่างการเรียน

สิ่งสำคัญที่การวัดแบบรูบริค ทำได้อย่างดีเยี่ยมคือ การช่วยให้ผู้เรียนตัดสินคุณภาพทักษะทางดนตรีของตนเองและของคนอื่น ๆ อย่างมีเหตุผล เมื่อใช้รูบริคเป็นแนวทางในการประเมิน ผู้เรียนจะสามารถชี้แนะและ แก้ปัญหาเกี่ยวกับผลงานของตนและผู้อื่นได้อย่างตรงจุด การฝึกฝนซ้ำ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินทักษะของตนเองจะทำให้ผู้เรียนเพิ่มความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการฝึกฝนของตนมากขึ้น และทำให้ผู้สอนนั้นสามารถประเมินความก้าวหน้าผู้เรียนได้อย่างชัดเจน

การวัดและประเมินผลเป็นสิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนทักษะทางดนตรีควรเรียนรู้อย่างยิ่ง ผู้สอนทักษะที่เก่งควรเป็นผู้ประเมินผลที่เก่งด้วย เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทั้ง2ฝ่ายกล่าวคือ ผู้เรียนทักษะจะได้รับการพัฒนาอย่างตรงจุดมุ่งหมาย รัดกุม และครูผู้สอนก็ได้มีการพัฒนาในด้านการจัดการเรียนการสอนของตนต่อไป




อ้างอิง https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-3-kar-ptibati-dntri-thiy/kenth-ni-kar-pramein-khunphaph-phl-ngan-dntri-thiy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น