วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา ดนตรี
       

               ศึกษาและฝึกทักษะทางดนตรีผ่านกระบวนการอธิบาย อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากล ในอัตราจังหวะต่างๆ ร้องเพลง หรือเล่นเครื่องดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง จำแนกประเภทและรูปแบบของวงดนตรีทั้งไทยและสากล อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์งานดนตรีแตกต่างกัน สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม นำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆ วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม
       โดยใช้ทักษะกระบวนการทางดนตรี ในการแสดงออกทางดนตรีและนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์
       เพื่อให้เห็นคุณค่างานดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

อ้างอิง http://athornmusic.blogspot.com/2017/10/32102-5.html?m=1

แบบทดสอบก่อนเรียน

                     แบบทดสอบก่อนเรียน


1. การขับร้องประสานเสียง หมายถึงข้อใด
          ก    ขับร้องพร้อมกัน
          ข    ขับร้องเดี่ยวมีลูกคู่
          ค    ขับร้องสองคนขึ้นไป
          ง    ขับร้องเสียงกลมกลืน
    2.  รูปแบบการขับร้องประสานเสียง มีกี่แบบ
          ก    2 แบบ
          ข    4 แบบ
          ค    6 แบบ
          ง    8 แบบ
    3.  การขับร้องประสานเสียงแนวละคนหรือหลายคนเรียกว่า
          ก    ไควร์
          ข    อัลโต
          ค    คอรัส
          ง    เทเนอร์
    4.  ระดับเสียงของการขับร้องประสานเสียงมีกี่แนว
          ก    2 แนว
          ข    3 แนว
          ค    4 แนว
          ง    5 แนว


  5.  การขับร้องประสานเสียงแบบราวด์ หมายถึงข้อใด
          ก    แบบวน
          ข    แบบไควร์
          ค    แบบอัลโต
          ง    แบบประสาน
6. ระดับเสียงสูงสุดของผู้หญิง คือแนวใด
        ก   แนวเบส
        ข   แนวอัลโต
        ค   แนวเทเนอร์
        ง   แนวโซปราโน
7. ระดับเสียงต่ำสุดของผู้หญิง คือแนวใด
         ก   แนวเบส
         ข   แนวอัลโต
         ค   แนวเทเนอร์
         ง   แนวโซปราโน
8. ระดับเสียงสูงสุดของผู้ชาย คือแนวใด
         ก   แนวเบส
          ข   แนวอัลโต
          ค   แนวเทเนอร์
          ง   แนวโซปราโน


9. ระดับเสียงต่ำสุดของผู้ชาย คือแนวใด
         ก   แนวเบส
         ข   แนวอัลโต
         ค   แนวเทเนอร์
         ง   แนวโซปราโน
10. การขับร้อง 2 กลุ่มร้องทำนองเดียวกัน แต่
เริ่มต้นและจบไม่พร้อมกัน คือข้อใด
        ก   การขับร้องแบบราวด์
        ข   การขับร้องประสานเสียง 2 แนว
        ค   การขับร้องประสานเสียง 3 แนว
       ง   การขับร้องประสานเสียง แนว


อ้างอิง  https://sites.google.com/site/tommusicfreeman/khxsxb-play-phakh-m-5

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย

       

ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดออกมาเป็ยนทำนองและอารมณ์ของเพลงที่ดำเนินไปตามจินตนาการของนักประพันธ์เพลง ดนตรีมีคุณค่าต่อมนุษย์ในการปรุงแต่งชีวิตให้มีความสุข เป็นสื่อเสริมแต่งให้กิจกรรมทางประเพณีและวัฒนธรรมของมนุษย์ให้มีตความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  ดนตรีไทยเป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมของคนไทย  มีคุณค่าและความงามที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย  ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับวิถีชีวิตไทย  มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่อดีตตราบจนถึงปัจจุบัน  ขณะเดียวกันก็ีบทบาทในการช่วยสะท้อนค่านิยมและความเชื่อของผู้คนในสังคมไว้ในงานดนตรีอีกด้วย


คุณค่าและความงามของดนตรีไทย

          มนุษย์ได้สร้างสรรค์ดนตรีขึ้นจากภูมิปัญญาและจินตนาการ  เพื่อนำมาปรุงแต่งความสมบูรณ์ในจิตใจ  ซึ่งมีผลต่อร่างกาย อารมณ์ และสังคม  ดังนั้น ดนตรีจึงมีคุณค่าและความงามทั้งในระดับบุคคล กลุ่มชน รวมไปถึงระดับประเทศ 
         ดนตรีไทยเป็นศิลปะที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติ คุณค่า และความงามของดนตรีไทยสามารถพิจารณาได้จากบทเพลงที่นักประพันธ์เพลงประพันธ์ขึ้น มีท่วงทำนองตามโครงสร้างของระบบเสียงเนื้อร้องที่ร้อยเรียงกันอย่างสละสลวย  มีนักดนตรีทำหน้าที่ถ่ายทอดบทเพลง  โดยใช้ระบบวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลาย มีวิธีขับร้องที่กลมกลืนกัน  และมีเครื่องดนตรีซึ่งมีรูปแบบเฉพาะสวยงามได้สัดส่วน 
      คุณค่าและความงามที่ปรากฏอยู่ในกิจกรรมทางสังคมไทย
     คุณค่าและความสวยงามของดนตรีไทยปรากฏอยู่ในกิจกรรมทางสังคมไทย ดังนี้
              1) คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับพระราชพิธี ดนตรีที่เกี่ยวกับพระราชพิธี เช่น วงปี่พาทย์ ใช้บรรเลงในงานที่พระมหากษัตริย์เสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวงกลองแขก ใช้บรรเลงในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่นเดียวกับการแห่เรือที่มีศิลปินเห่ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วงขับไม้ใช้บรรเลงในพระราชพิธีขึ้นพระอู่ของพระราชโอรสและพระราชธิดา การประโคมวงปี่พาทย์นางหงส์ในงานพระเมรุ เป็นต้น
                2) คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับศาสนา ดนตรีที่เกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาที่เป็นมูลฐานให้เกิดประเพณีต่างๆ  ของไทยมาตั้งแต่อดีต คือศาสนาพราหมณ์และพระพุธศาสนา ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่มีบทบาทในงานพระราชพิธี สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุธศาสนา ทั้งงานมงคลและงานอวมงคลนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
                 3) คุณค่าและความงามของดนตรีไทที่เกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไป กิจกรรมทั่วไป เช่น งานมงคลสมรส งานฉลองความสำเร็จของบุคคล เป็นต้น หรือเมื่อมีการจัดเลี้ยงต่างๆ นิยมจัดให้มีวงดนตรีไทยมาบรรเลง เช่น วงมโหรี วงเครื่องสาย เป็นต้น สำหรับงานมงงคลสมรสที่มีการแห่ขันหมาก นิยมใช้วงกลองยาวและวงแตรวงบรรเลงนำ

     คุณค่าและตามงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย
        คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย จำแนกได้ 2 ด้าน คือ
                   1) ด้านรูปธรรม เครื่องดนตรีไทยมีทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า เครื่องดนตรีเหล่านี้ครูดนตรีในอดีตได้ใช้หลักการในการเลือกเครื่องดนตรีให้มีความสอดคล้องกันเพื่อประสมเป็นวงดนตรี
                    2) ด้านนามธรรม รสของเพลงที่เป็นผลมาจากทำนองเพลงไทย ที่เกิดจการบรรเลง จนก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกว่าเพลงนั้นมีความเสนาะ ไพเราะ สนุกสนาน เพลิดเพลินอารมณ์ โศกเศร้า

       การเข้าถึงคุณค่าและความงามของดนตรีไทย
     การเข้าถึงสุนทรียรสในดนตรีไทย ย่อมทำให้พบคุณค่าและความงามของดนตรีไทย สิ่งนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกผูกพัน  การเข้าถึงคุณค่าและความงามของดนตรีไทยสามารถทำได้ดังนี้
                     1) การศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวและเนื้อหาสาระต่างๆ ของดนตรีไทย 
                     2) การฟังเพลงไทยด้วยความตั้งใจ



ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช้

    
                           

                                    ดนตรีไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรมมที่มีความหมายและความสำคัญของคนไทย หลักการของดนตรีไทยมีลักษณะเช่นเดียวกับดนตรีของทุกชาติในโลกคือ เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของนักดนตรี  ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม  ตั้งแต่ในระดับส่วนบุคคล ระดับสังคมขนาดย่อยที่สุดไปจนใหญ่ที่สุด  คือ ในระดับโลก


         1) ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์ 
   การพัฒนามนุษย์มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการพัฒนาทางกายภาพ ในวงการแพทย์ได้แนะนำให้มนุษย์รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจและอารมณ์ เพื่อนำไปสู่สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าของชีวิต


2) ดนตรีไทยกับการผ่อนคลาย
    เพลงไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ 3 ประการ คือ เพลงเพื่อพิธีกรรม เพลงเพื่อประกอบการแสดงและเพลงที่ใช้บรรเลงในโอกาสทั่วๆ ไป เพลงไทยจึงมีแนวเพลงที่ดำเนินไปอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการ

          3) ดนตรีกับการบำบัดรักษา
    การเจ็บป่วยของมนุษย์ จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ อาการเจ็บป่วยทางกาย และอาการเจ็บป่วยทางใจ สำหรับในส่วนของดนตรี  สามารถนำมาบำบัดผู่ป่วยที่เรียกว่า "ดนตรีบำบัด " ซึ่งใช้บำบัดทั้งทางกายและจิตใจ 


         4) ดนตรีกับการศึกษา
     ในหลายสังคมและวัฒนธรรมถือว่าดนตรีเป็นวิชาของชนชั้นสูงและนักปราชญ์ราชบัณฑิตดนตรีบางประเภทได้รับการพัฒนาไปตามภูมิปัญญาของนักปราชญ์ทางดนตรี เช่น ดนตรีจีน ดนตรีกรีก ดนตรีอินเดีย เป็นต้น

                           

          5) ดนตรีกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
      การโฆษณา หมายถึง การป่าวประกาศ การบอกกล่าว การเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ เช่น การโฆษณาสินค้า เป็นต้น ส่วนการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารข้อมูลต่างๆ ให้รับรู้และเข้าใจถูกต้องตรงกัน การใช้ดนตรีในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของไทยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกว่า  " ตีฆ้องร้องป่าว "

                                                                 
     
          6) ดนตรีกับธุรกิจ
การประกอบอาชีพดนตรีในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่ที่ศิลปินผู้สร้างผลงานการประพันธ์เพลงแต่ยังรวมไปถึงการเป็นนักดนตรี นักร้อง วาทยกรที่ทำหน้าที่อำนวยการให้จังหวะวงดนตรี ผู้เรียบเรียงเพลงหรือผู้รับจ้างบรรเลงดนตรีในรูปของคณะดนตรี ดังที่ปรากฏในงานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลองต่างๆ


อ้างอิง  https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-1-khwam-ru-thawpi-keiyw-kab-dntri-thiy/dntri-thiy-kab-kar-prayukt-chi

หน่วยที่ 2 การปฏิบัติดนตรีสากล

หน่วยที่ 2 การปฏิบัติดนตรีสากล


                       การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีสากล  ต้องศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ   โดยเฉพาะก่อนฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลที่ตนถนัดและชื่นชอบนั้น  เบื้องต้นต้องเรียนรู้จนสามารถอ่าน เขียนโน้ตสากลในอัตราจังหวะต่างๆ  ได้อย่างถูกต้อง  รวมถึงเข้าใจเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ  ทางดนตรีสากลอีกด้วย ทั้งนี้  เพื่อให้มีเทคนิคและสามารถถ่ายทอดอารมณ์เพลงที่กวีได้ประพันธ์ไว้


ปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล


      ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น


    ทฤษฎีดนตรีสากลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษาเพื่อเป็นแนวทางพื้นฐานสู่การปฏิบัติเครื่องดนตรีโน้ตดนตรีสากลและเครื่องหมายต่างๆ คือสัญลักษณ์ที่ให้ปฏิบัติ ดังนั้นทฤษฎีดนตรีสากลจึงควรศึกษาและฝึกเพื่อให้เกิดทักษะ ปฏิบัติจนเกิดความคล่องแคล่วด้วยความเข้าใจ

            ทฤษฎีดนตรีสากล
        1. บรรทัดห้าเส้น (Staff)
บรรทัดห้าเส้น (Staff) ประกอบด้วยเส้นตรงขนานกันจำนวน 5 เส้น และช่องบรรทัดจำนวน 4 ช่อง โดยเส้นบรรทัดมีระยะห่างเท่ากัน การนับเส้นหรือบรรทัดห้าเส้นให้นับตามลำดับจากล่างไปบนโดยนับเส้นหรือช่องล่างสุดเป็น 1 2 3 4 5 ตามลำดับ ในการบันทึกตัวโน้ตและสัญลักษณ์ต่างๆ ทางดนตรีสากลจะบันทึกบนบรรทัดห้าเส้นเป็นหลัก





       2. ตัวโน้ต (Note)
ตัวโน้ต เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนระดับเสียง และความยาวของเสียง ส่วนประกอบสำคัญของตัวโน้ต ได้แก่ ส่วนหัวตัวโน้ต และส่วนหางตัวโน้ต ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโน้ตต่างๆ


             2.1 เมื่อตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้น

2.2 เมื่อตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ลง
2.3 เมื่อกลุ่มตัวโน้ตอยู่เส้นที่ 3 หางตัวโน้ตจะชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวโน้ต


      การรวบรวมหางตัวเขบ็ต
โน้ตตัวเขบ็ตลักษณะเดียวกัน เช่น ตัวเขบ็ต 1 ชั้น หรือตัวเขบ็ต 2 ชั้น สามารถเขียนหางตัวโน้ตรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบง่ายต่อการอ่าน




               3. ค่าตัวโน้ต
ค่าตัวโน้ต ลักษณะตัวโน้ตมีหลายลักษณะ ค่าตัวโน้ตลักษณะต่างๆ สามารถเปรียบเทียบค่าความยาวโน้ต และมีชื่อเรียกลักษณะโน้ตต่างๆ ดังนี้

จะเห็นว่าค่าจังหวะนับของโน้ตตัวกลมมากที่สุด ตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ็ต 1 ชั้น ตัวเขบ็ต 2 ชั้นและตัวเขบ็ต 3 ชั้น จะมีค่าลดลงทีละครั้งตามลำดับ เช่น

4. ตัวหยุด (Rest)
ตัวหยุด คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่กำหนดให้เงียบเสียงหรือไม่ให้เล่นในระยะ เวลาตาม
ค่าตัวหยุดนั้นๆ ตัวหยุดมีหลายชนิดสอดคล้องกับตัวโน้ตลักษณะต่างๆ



ตัวหยุดลักษณะต่างๆ ตามค่าตัวโน้ต

5. เส้นน้อย (Leger Lines)
เส้นน้อย คือ เส้นสั้นๆ ที่อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น มีระยะห่างเท่ากับบรรทัดห้าเส้นโน้ตที่อยู่ต่ำหรือสูงมากๆ จะต้องอาศัยเส้นน้อยตามลำดับ เช่นโน้ตที่คาบเส้นจะเรียงลำดับกับโน้ตที่อยู่ในช่องถ้าหากเส้นน้อยมีมากกว่าสามเส้น ควรใช้วิธีการเปลี่ยนกุญแจประจำหลักหรือใช้เครื่องหมายคู่แปดช่วย เพื่อให้สะดวกต่อการอ่าน

6. กุญแจ (Clef)
กุญแจ คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่บันทึกไว้ที่บรรทัดห้าเส้น เพื่อกำหนดระดับเสียงโน้ตที่อยู่ในช่องและอยู่บนเส้นของบรรทัดห้าเส้น กุญแจที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 แบบ ดังนี้


6.1 กุญแจซอล หรือกุญแจ G (G clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตซอล (G) อยู่บรรทัดเส้นที่ 2 กุญแจชนิดนี้นิยมมากในกลุ่มนักดนตรี นักร้อง ใช้กับเครื่องดนตรีที่นิยมทั่วไป เช่น กีตาร์ ไวโอลินทรัมเป็ต ฯลฯ กญแจซอลมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ คือ เทรเบิลเคลฟ (Treble clef)



6.2 กุญแจฟา หรือกุญแจ F (F clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตฟา (F) อยู่บนเส้นที่ 4 กุญแจชนิดนี้นิยมใช้กับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำ เช่น เชลโล เบส ทรอมโบน ฯลฯกุญแจฟามีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกชื่อคือ เบสเคลฟ (Bass clef)



กุญแจโดเทเนอร์ (Tenor clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับเชลโล และบาสซูน
6.3 กุญแจโด หรือกุญแจ C (C clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้เสียงโด (C) อยู่บนเส้นใดก็ได้ของบรรทัดห้าเส้น ให้เป็นเสียงโดกลาง


กุญแจโดอัลโต
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา

กุญแจโดเทเนอร์
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา


7. การเรียกชื่อตัวโน้ต
การเรียกชื่อตัวโน้ตสากลที่นิยมมี 2 ระบบ ได้เเก่

7.1 ระบบโซฟา (So-Fa system) ใช้เรียกตัวโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ โด (Do) เร (Re) มี (Mi) ฟา (Fa) ซอล (Sol) ลา (La) ที (Ti)



7.2 ระบบตัวอักษร (Latter system) ใช้เรียกชื่อโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง
ดังนี้ A B C D E F G โดยใช้ตัวอักษร A แทนด้วยตัว ลา



การเรียกชื่อโน้ตในกุญแจ
เมื่อใช้กุญแจซอล (G clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้

เมื่อใช้กุญแจฟา (F clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้



8. เส้นกันห้อง (Bar line)
เส้นกันห้อง คือ เส้นตรงแนวตั้งที่ขีดขวางบรรทัดห้าเส้น เพื่อกั้นแบ่งโน้ตในแต่ละห้อง ให้มีจำนวนจังหวะตามที่เครื่องหมายกำหนดจังหวะกำหนดไว้
8.1 ใช้กั้นห้องเพลง

8.2 ใช้กั้นจบตอนหรือจบท่อนเพลง โดยใช้เส้นกันห้องคู่ (Double Bar Line)



9. การเพิ่มค่าตัวโน้ต
การเพิ่มค่าตัวโน้ต และเพิ่มค่าตัวหยุด สามารถทำได้ดังนี้
9.1 การประจุด (Dot) คือ การประจุดที่ด้านขวาตัวโน้ต หรือที่ตัวหยุด จะมีผลให้ค่าโน้ตนั้นๆเพิ่มมากขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น เช่น


9.2 เครื่องหมายโยงเส้นทาย (Tie) ใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกัน จะเพิ่มค่าเท่ากับค่าโน้ตสองตัวรวมกัน โดยจะเล่นที่โน้ตตัวแรก ลากเสียงไปสิ้นสุดที่ตัวสุดท้ายที่เครื่องหมายที่กำหนดไว้ เช่น
 9.3 ใช้สัญลักษณ์เฟอร์มาตา (Fermata) หรือเป็นเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีจุดตรงกลาง ใช้บันทึกไว้ที่หัวโน้ต เพื่อเพิ่มค่าตัวโน้ตให้ลากยาวเท่าใดก็ได้ไม่ได้กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เล่น เช่น
10. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ ตัวเลขสองตัวที่เขียนไว้หลังกุญแจ คล้ายลักษณะเลขเศษส่วนแต่ไม่มีเส้นขีดคั่นกลาง เลขตัวบนจะบอกว่า 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ ส่วนเลขตัวล่างบอกโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ เช่น



นอกจากนี้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ยังมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนตัวเลขได้ เช่น


11. อัตราจังหวะ
อัตราจังหวะ เป็นเครื่องหมายกำหนดอัตราจังหวะ ที่บอกถึงค่าตัวโน้ต และจำนวนจังหวะในแต่ละห้องเพลง อัตราจังหวะ (Time) เป็นกลุ่มโน้ตที่ถูกจัดแบ่งจังหวะเคาะที่เท่าๆ กันในแต่ละห้องเพลงและทำให้เกิดชีพจรจังหวะ (Pulse) คือ การเน้นจังหวะหนัก-เบา กลุ่มอัตราจังหวะโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ
11.1 อัตราจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 2 จังหวะ เช่น

11.2 อัตราจังหวะสามธรรมดา (Simple triple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 3 จังหวะ เช่น


11.3 อัตราจังหวะสี่ธรรมดา (Simple quadruple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 4 จังหวะ เช่น
เครื่องหมาย > คือ การเน้นจังหวะที่โน้ตในจังหวะที่ 1 ของแต่ละอัตราจังหวะ

แสดงการเคาะอัตราจังหวะ 1 จังหวะ


พื้นฐานการเคาะ 1 จังหวะ อาจใช้การตบเท้าจากจุดเริ่มต้นตบเท้าลง คือ จังหวะตก แล้วยกเท้าขึ้นจุดเดิม คือ จังหวะยก

ประเภทเพลงสากล : ดนตรีสากล

           1.เพลงศาสนา 
เพลงศาสนาหรือดนตรีศาสนา (Church music หรือ Sacred music) นี้เองมีส่วนทำให้ศาสนาโดยเฉพาะศาสนา คริสต์เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา นับเป็นเวลาที่ยาวนานมาถึงร่วม 7 ศตวรรษ เพลงศาสนานี้จัดได้ว่าเป็นคำตรงกันข้ามกับ คำว่า ดนตรีบ้าน (secular music) ดนตรีศาสนาจะขับร้องและบรรเลงกันในวัดหรือโบสถ์ ส่วนดนตรีบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านที่ฟังหรือบรรเลงกันตามบ้านทั่ว ๆ ไปเพลงศาสนาประเภทนี้เป็นเพลงประเภทขับร้องที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับศาสนาโดยเฉพาะ มีทั้งประเภทที่ขับร้องเดี่ยว และ ขับร้องประสานเสียง อาจประกอบดนตรี หรือไม่ก็ได้ เพลงศาสนามีหลายชนิด อาทิ
      แคนตาต้า (Cantata) เป็นเพลงร้องสั้น ๆ เนื้อร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งมีทั้งชนิดที่ใช้ร้องในโบสถ์ และร้องตามบ้ติ ตัวอย่าง เพลง Cantata Duetto from Cantata n. 10 (Bach)
        คอรอล (Chorale) เป็นเพลงที่ร้องเป็นเสียงเดียวกันหลายคนในบทสวด ของศาสนาคริสตนิกายโปแตสแตนท์ของเยอรมัน ตัวอย่างเพลง (Chorale) For Unto Us a Child is Born (From Messiah
ฮีมน์ (Hymn) คือ เพลงสวดที่เกี่ยวกับศาสนา มีลักษณะเป็นบทกลอน ร้องเพื่อศาสนาเพียงอย่างเดียว
       แมส (Mass) คือบทร้องในศาสนานิกายโรมันคาทอลิค ร้องแบบประสานเสียง เพิ่งมีดนตรีประกอบเมื่อ ศตวรรษที่ 17 ตัวอย่างเพลง Mass Mozart, Mass in C Minor
       โมเตท (motet) เป็นเพลงร้องทางศาสนา การร้องไม่มีดนตรีคลอ ส่วนมากร้องเป็นภาษาลาติน
ตัวอย่างเพลง Motet Intermedio di felici pastor โดย Banchieri
       โอราโทริโอ (oratorio) เป็นเพลงสวดที่นำเนื้อร้องมาจากพระคัมภีร์ มีทั้งร้องเดี่ยว ร้องหมู่ และมีดนตรีวงใหญ่ประกอบ ตัวอย่างเพลง Oratorio Hallelujah From Messiah Haydn
        แพสชั่น (Passion) เป็นเพลงสวดที่มีเนื้อหา เนื้อเพลงเกี่ยวกับความทุกข์ยากของพระเยซู
         รีเควี่ยม (Requiem) เป็นเพลงสวดที่เกี่ยวกับความตาย ร้องในโบสถ์โรมันคาทอลิคในพิธีฝังศพ หรือวันครบรองแห่งความตาย หรือวันรวมวิญญาณของศาสนาคริสต์คือ วันที่ 2 พ.ย. ของทุก ๆ ปี

        
  2. เพลงที่ใช้ขับร้องในละครอุปรากร หรือละครโอเปร่า 

เป็นละครชนิดหนึ่งที่แสดงโดยใช้การร้องเพลงโต้ตอบกันตลอดทั้งเรื่อง มีการร้องดังนี้
      อาเรีย (Aria) เป็นเพลงขับร้องที่ร้องรำพันแสดงความรู้สึกทางจิตใจอย่างลึกซึ้ง เป็นการขับร้องเดี่ยวโดยมีเครื่องดนตรีประกอบ เพลงหนึ่ง ๆ มี 3 ท่อน ท่อนที่ 1 , 2 ทำนองไม่เหมือนกัน ส่วนท่อนที่ 3 ทำนองจะเหมือนท่อนที่1
       คอรัส (Chorus) เป็นเพลงขับร้องหมู่ อาจเป็นเสียงเดียวกันหรือคนละเสียงก็ได้
       คอนเสิรทไฟนอล (Concert Final) เป็นเพลงขับร้องหมู่ ใช้ขับร้องตอนเร้าความรู้สึกสุดยอด (Climax) อาจเป็นตอนจบ หรือตอนอวสาน หรือตอนหนึ่งตอนใดก็ได้
        เรคซิเรทีพ (Recilative) เป็นการขับร้องกึ่งพุด การพูดนี้มีลีลาลัษณะของเสียง สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายกับการขับเสภาของเรา ใช้สำหรับให้ตัวละครร้องเพื่อเล่าถึงเหตุการณ์ในท้องเรื่องทั้งสั้นและยาว ซึ่งมี 2 แบบ คือ
       ดาย เรคซิเรทีพ (Dry Recilative) เป็นการร้องกึ่งพูดอย่างเร็ว มีเครื่องดนตรีประกอบเป็นครั้งคราว เพื่อกันเสียงหลง
       อินสทรูเมนท์ เรคซิเรทีพ (Instrument Recilative) เป็นการร้องที่ใช้ดนตรีทั้งวงประกอบ การร้องจะเน้นความรู้สึกและมีความประณีตกว่าแบบแรก

          3 . เพลงลีลาศ 
ได้แก่เพลงทุกชนิดที่ใช้ในการลีลาศได้ เช่น เพลงแทงโก วอลท์ ช่าช่าช่า ฯลฯ มีทั้งชนิดขับร้องและบรรเลง

        4. พลงชาวบ้าน
ในขณะที่ดนตรีศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น ดนตรีที่ให้ความบันเทิงรื่นเริงก็ได้มีการเจริญเติบโตไปพร้อมกัน มีการนำเอาบทเพลงที่ประกอบไปด้วยจังหวะและทำนองมาประกอบการดำเนินชิวิตประจำวัน โดยเฉพาะในการประกอบการทำงานต่าง ๆ เช่น เมื่อช่วยกันเกี่ยวข้าว เพลงชาวบ้านโดยมากเป็นเพลงง่าย ๆ การแต่งก็ไม่มีการบันทึกไว้เป็นโน้ต ร้องต่อ ๆ กันจนจำได้ มีทำนองซ้ำ ๆ กันหลายต่อหลายท่อนในเพลงแต่ละเพลง เช่น เพลงเต้นกำรำเคียวของไทย หรือในรัสเซียเพลงที่มีชื่อเสียงก็คือ Song of tht volga boatmen เป็นเพลงของชาวเรือในแม่น้ำโวลก้า พวกชาวเรือเหล่านั้นจะยืนอยู่บนริมฝัง และช่วยกันฉุดลากเรือเพื่อให้แล่นทวนกระแสน้ำ พร้อมกับร้องเพลงเพื่อให้จังหวะในการออกแรงอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือในอิตาลี เพลง Santa lucia ซึ่งเป็นเพลงของชาวเรือ เนเปิลส์ เพลงนี้ชาวเรือจะร้องในยามค่ำคืน รำพึงถึงความอ้างว้างของท้องทะเล และความงดงาม เพลงนี้ได้มีการนำมาใส่คำร้องเป็นภาษาไทย และเป็นเพลงประจำของคณะศิลปกรรมของมหาวิทยาลัยศิลปกร (สาเหตุคงเป็นเพราะว่า ท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ท่านเป็นชาวอิตาเลียน)

     5. เพลงตะวันตก 
หมายถึงเพลงที่ขับร้องกันในภาคตะวันตกของสหรัฐ เท่านั้น พวกที่บุกเบิกในการร้องคือ พวกกรรมกรรถไฟ พวกโคบาล พวกพเนจร พวกเจ้าของที่ถือครองเกษร เพลงลูกทุ่งของไทยจะเรียกว่าเลียนแบบเพลงตะวันตกหรือเพลงชาวบ้านก็ได้ เพลงตะวันตกนับได้ว่าเป็นเพลงอเมริกันแท้เพราะเกิดในอเมริกา และเกิดจากสิ่งแวดล้อมและจิตใจของคนที่อยู่อเมริกา

    6 เพลง Chamber music
ประกอบขึ้นด้วยเครื่องดนตรี ตั้งแต่ 3 - 7 คนขึ้นไป และบางทีก็มีการร้องแทรกอยู่บ้าง เป็นเพลงสำหรับฟังเล่นเย็น ๆ ให้อารมณ์ผ่อนคลาย เปรียบได้กับเพลงจากวงดนตรีเครื่องสายไทย เพลง Chamber music มักจะต้องประกอบด้วยนักดนตรีฝีมือเยี่ยม เพราะถ้าใครเล่นผิดพลาดไปคนฟังก็สังเกตได

    7. เพลงกล่อมเด็ก (Lullaby)
เป็นเพลงที่เกิดจากแรงดลใจภายในตัวแม่ เพื่อกล่อมลูกให้หลับแต่แล้วก็กลายเป็นทำนองอันไพเราะไป เพลงกล่อมเด็กแทบทุกเพลงมีทำน้องช้า ๆ โหยหวน ฟังแล้วชวนหลับ 

      8. เพลง Sonata
เป็นเพลงที่แต่งขึ้นให้เล่นด้วยเครื่องดนตรีหนึ่งหรือ 2 ชิ้น ซึ่งโดยมากมักจะเป็น ไวโอลินกับเปียโน โดยมากเป็นเพลงช้า ๆ เล่นให้กับบรรยากาศขณะที่ศิลปินประกอบแต่งเพลงนั้น ๆ เพลง moonlight Sonata ของบีโธเฟนแต่งขึ้นเมื่อมีแสงจันทร์ส่องลอดเข้ามาทางหน้าต่างเป็นต้น

     9. เพลงเซอเรเนค (Seranade) 
หมายถึงเพลงยามเย็น เป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรัก การเกี้ยวพาราสี คล้ายกับเพลงยาวของไทย

     10 เพลงพาเหรด (March) 
ได้แก่เพลงซึ่งมีจังหวะเน้นหนักเบา โดยมากเพื่อประกอบการเดินแถวของพวกทหาร หรือเพื่อประโยชน์ในการปลุกใจ ฟังคึกคัก ตื่นเต้น เพลงเดินนี้เรียกว่า Military March มีเพลงชนิดหนึ่งมีจังหวะช้า ใช้ในการเดินขบวนแห่ โดยเฉพาะการแห่ศพ เรียกว่า Processional March

    11. เพลงแจ๊ส (Jazz)
เพลงแจ๊สเป็นเพลงอเมริกันแท้อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะสำคัญของเพลงแจ๊สคือ การมี Syncopation (ซินโคเปชั่น) หมายถึงการเน้นจังหวะที่จังหวะยก มากกว่าจังหวะตก โดยมากเพลงแจ๊สจะเป็นเพลงที่มีเสียงอึกทึกอยู่ไม่น้อย แต่เพลงแจ๊สที่เล่นอย่างช้า ๆและนุ่มนวลก็มีเช่นกัน เพลงแจ๊สรุ่นแรกเกิดขึ้นทางภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาโดยพวกชนผิวดำที่ ที่มาเป็นทาส เพลงแจ๊สที่เกิดทางใต้นี้มีชื่อเรียกว่า Dixieland Jazz เพลงแจ๊สได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาจนกลายมาเป็นเพลง Blue ลักษณะของเพลง Blue นี้จะเล่นอย่างช้า ๆ เนิบนาบ

     12. เพลงซิมโฟนี (Symphony) 
หมายถึง ลักษณะของดนตรีที่พัฒนาถึงจุดสุดยอดในเรื่องของ จังหวะ ทำนอง ความแปรผัน และความละเอียดอ่อนทั้งหลาย นอกจากนั้นซิมโฟนียังเป็นดนตรีที่มีการแสดงออกในด้านต่าง ๆ อย่างบริบูรณ์ มีการเร้าอารมณ์โดยไม่ต้องมีคำอธิบาย ไม่ต้องตีความ ถ้าจะเปรียบกับการแต่งประโยคในการเรียงความ เพลงซิมโฟนีก็จะเป็นประโยคเชิงซ้อนมากมายตั้งแต่ต้นจนจบ โครงสร้างของเพลงซิมโฟนี ตามแบบมีดังนี้
ก. ทำนองบอกกล่าว (Statement)
ข. ทำนองนำ หรือทำนองเนื้อหา (Exposition)
ค. ทำนองพัฒนา (Development)
ง. ทำนองอวสาน (Conclusion)

     เพลงซิมโฟนีตามแบบมักจะมี 4 กระบวน (ท่อน) แต่ละกระบวนมีทำนองเนื้อหาของตนเอง
ก. กระบวนที่ 1 มักจะเล่นในจังหวะ เร็วและแข็งขัน
ข. กระบวนที่ 2 เรียบและเรื่อยเอื้อย หรือช้าและแช่มช้อย
ค. กระบวนที่ 3 สั้น ๆ และระรื่น
ง. กระบวนที่ 4 รวดเร็วดังและรุนแรง
       เพลงซิมโฟนีนอกแบบอาจมีถึง 5 - 6 กระบวนก็ได้ โดยปกติเพลงซิมโฟนีไม่มีการขับร้องแทรกปนเว้นแต่เพลงซิมโฟนีหมายเลข 9 ของบีโธเฟน และเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของกุสตาฟมาห์เลอร์
วงดนตรีที่จะใช้เล่นเพลงซิมโฟนีให้ได้มาตรฐาน จะต้องมีเครื่องดนตรีไม่ต่ำกว่า 70 ชิ้น

   13. เพลง Program music
อาจนับได้ว่าเป็นเพลงอยู่ในจำพวกซิมโฟนี เพราะมีหลักการโครงสร้างคล้ายกัน เนื้อเพลงอาจสั้นกว่าและอาจมีกระบวนหรือไม่มีก็ได้ แต่สาระสำคัญของเพลงประเภทนี้คือว่ามีการพยายามเล่าเรื่องหรือบรรยายภูมิประเทศด้วยเสียง แต่ความพยายามนี้ก็มิค่อยสำเร็จนัก จึงมักจะต้องมีการแจกบทความเล่าเรื่องนิยายหรือภาพนั้น ๆ ให้ผู้ฟังได้ทราบก่อนฟัง แล้วผู้ฟังจะจินตนาการหรือนึกภาพจากเสียงดนตรีอีกทีหนึ่ง เพลงนิยายมักจะมีชื่อบอกเนื้อเรื่องเช่น Don Juan le route d|ompha ถ้าแบ่งเป็นกระบวนก็จะเรียกว่า Suite (อ่านว่า สวีท) เช่น Grand canyon suite หรือ peer gynt suite เป็นต้น

      14. เพลง (Concerto)
มีลักษณะของการประกอบแต่งเช่นเดียวกันกับเพลงซิมโฟนีเกือบทุกประการ แต่วัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสามารถและฝีมือเล่นเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดนั้น ๆ ซึ่งจะเล่นแทรกขึ้นมาเดี่ยว ๆ แล้ววงดนตรีก็จะประโคมรับ หรือเล่นให้เบาลงเป็นแบคกราว ถ้าจะว่าก็คล้ายคลึงกับบทขับร้อง แต่แทนที่จะเป็นการขับร้อง ก็กลายเป็นการนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงเดี่ยว 

     15. เพลงโอเวอร์เจอร์ (Overture)
เป็นเพลงเล่นด้วยวงดนตรีสำหรับซิมโฟนี หรือวงดนตรีขนาดใหญ่ เล่นประกอบอุปรากรหรือละครดนตรี เล่นโหมโรงก่อนเปิดฉากการแสดงอุปรากรหรือละครดนตรีและโดยมากมักเอาทำนองเพลงต่าง ๆ ที่จะขับร้องในอุปรากรเรื่องนั้น ๆ มาปะติดปะต่อกันเข้าเป็นงานอีกชิ้นหนึ่ง

   เพลงอมตะ (Immoral song)
หมายถึง เพลงใด ๆ ก็ได้ ที่ได้รับการยอมรับยกย่องว่า มีความไพเราะ และเป็นที่นิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย หรือ เป็นที่นิยมรู้จัก ฟังไพเราะอยู่เสมอไม่ว่า เวลาใด ยุคใด สมัยใด เช่นเพลงบัวขาว แสงทิพย์ ของไทย

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล


     การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่างๆ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือพยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำๆ จึงจะมีความหมาย ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น


ในทางดนตรีก็เช่นกันความคิดของผู้ประพันธ์เพลง(Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ต เพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรีผู้นั้นไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่างๆนั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟัง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีสากล
       -ตัวโน้ตดนตรี

เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งศตวรรษที่11 โดย กีโด เดอ อเรซ์โซ(Guido d’ Arezzo,995-
1050) บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและใช้ กันในปัจจุบัน ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่อให้นักดนตรีทราบถึงความสั้น – ยาว, สูง – ต่ำ ของระดับเสียงได้ เราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี (Music Notation) พอสังเขปดังนี้


โน้ตตัวกลม 1 ตัว ได้ตัวขาว 2 ตัว หรือได้ตัวดำ 4 ตัว
โน้ตตัวขาว 1 ตัว ได้ตัวดำ 2 ตัว
โน้ตตัวดำ 1 ตัว ได้ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 1 ตัว ได้ตัวเขบ็ตสองชั้น 2 ตัว
   -ระดับเสียง

         ดนตรีประกอบด้วยเสียง (Tone) หลายๆ เสียง มาต่อๆ กัน แต่ละเสียงมีระดับเสียงสูงต่ำและความยาวที่ต่างกัน เมื่อนำเสียงเหล่านั้นมาต่อๆ กันจึงได้เป็นเพลงออกมา ในบทนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของระดับเสียงกัน สำหรับเรื่องความยาวของเสียงได้พูดไว้ในบทเรียนเรื่อง จังหวะ ครับ
ระดับเสียง (Pitch) คือ ความแหลมหรือทุ้มของเสียง เสียงแหลมคือเสียงสูง เสียงทุ้มคือเสียงต่ำ ยกตัวอย่าง เช่น เสียงผู้หญิงมักจะสูงกว่าเสียงของผู้ชาย เสียงแก้วแตกเป็นเสียงที่สูง เป็นต้น สำหรับเปียโน คีย์ที่อยู่ด้านขวาจะให้เสียงที่สูงกว่าคีย์ที่อยู่ด้านซ้ายเสมอ เพราะฉะนั้นคีย์ซ้ายสุดบนเปียโนจะเป็นเสียงที่ต่ำที่สุด (ทวนความจำหน่อยนะครับว่า คีย์ซ้ายสุดของเปียโนคือตัว A-ลา) และคีย์ที่อยู่ขวาสุดจะเป็นเสียงที่สูงที่สุดของเปียโน (คีย์ขวาสุดของเปียโนคือตัว C-โด)
มาพิจารณาที่เพลงหนูมาลีของเรากัน ในเพลงนี้เราใช้ระดับเสียง 4 ระดับเสียง เรียกตามชื่อของคีย์เปียโนที่ใช้เล่นคือ C-โด, D-เร, E-มี, และ G-ซอล (F-ฟา ไม่ได้ใช้ในเพลงนี้) ลองฟังเพลงหนูมาลีเทียบกับภาพนะครับ ในภาพผมจะเขียนเปรียบเทียบเสียงให้ดูง่ายๆ โดยถ้าเสียงสูงกว่าผมจะเขียนไว้สูงกว่า ส่วนเสียงต่ำกว่าผมจะเขียนไว้ต่ำกว่า ตัว G-ซอล จะมีระดับเสียงสูงที่สุด รองลงมาเป็นตัว E-มี (ตัว F-ฟา ไม่ได้ใช้ในเพลงนี้) รองลงมาเป็นตัว D-เร และต่ำสุดคือ C-โด ลองฟังแล้วสังเกตเปรียบเทียบความสูงต่ำของเสียงแต่ละเสียงนะครับ

 -การเพิ่มอัตราจังหวะตัวโน้ตและตัวหยุด
        โดยปกติอัตราจังหวะของตัวโน้ตมีค่าผันแปรตามเครื่องหมายกำหนดจังหวะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยขีดจำกัดของอัตราจังหวะที่ถูกกำหนดโดยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จึงต้องมีวิธีการเพิ่มจังหวะให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด นอกจากนี้ยังเพิ่มสีสันของทำนองเพลงด้วยการเพิ่มอัตราจังหวะมีหลายวิธีดังนี้
1. การโยงเสียง(Ties)
การเพิ่มอัตราจังหวะโดยการใช้เสียงโยงเสียงที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งใช้กับตัวโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันเดียวกันเท่านั้น ใช้ได้ 2 กรณี คือ ใช้โยงเสียงตัวโน้ตภายในห้องเดียวกันหรือโยงเสียงต่างห้องก็ได้ มีความหมายคล้ายกับเครื่องหมายบวก (+) การเขียนเส้นโยงเสียงให้เขียนเส้นโยงที่ตำแหน่งหัวตัวโน้ต ส่วนตัวหยุดไม่ต้องใช้เครื่องหมายโยงเสียง เช่น

2. การประจุด(Dots)
เป็นเพิ่มอัตราจังหวะของตัวโน้ตโดยการประจุด(.)เพิ่มเข้าไปด้านหลังของตัวโน้ตตัวที่ต้องการเพิ่มอัตราจังหวะ จุด(.)ที่นำมาประหลังตัวโน้ตจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตข้างหน้าแล้วรวมกันเช่น

** ถ้ามีจุดสองจุด จุดตัวหลังจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของจุดตัวแรก


การเปรียบเทียบระหว่างตัวโน้ตประจุดและตัวหยุดตัวหยุดประจุด


4. เครื่องหมายตาไก่หรือศูนย์(Fermata)
เป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่มีลักษณะคล้ายตาไก่ คนไทยเราก็เลยนิยมเรียกง่าย ๆ ตามลักษณะที่เห็นว่า “ตาไก่” ใช้สำหรับเขียนกำกับตัวโน้ตตัวใดตัวหนึ่งที่ผู้แต่งต้องการให้ยืดเสียงออกตามความพอใจ การเขียนเครื่องหมายตาไก่นิยมเขียนกำกับไว้ที่หัวตัวโน้ต และจะมีผลกับตัวโน้ตตัวนั้น ๆ ไม่ว่าตัวโน้ตลักษณะใดก็ตาม



           -เครื่องหมายแปลงเสียง
        เครื่องหมายแปลงเสียง เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้บันทึกเพื่อให้ระดับเสียงของโน้ตตัวนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากระดับเสียงเดิม เครื่องหมายแปลงเสียงมีอยู่ 5 ชนิดได้แก่

       แฟล็ต (Flat)  เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้ต่ำลง 1/2 ขั้น
ชาร์ป (Sharp)  เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้สูงขึ้น 1/2 ขั้น
ดับเบิลชาร์ป (Double Sharp)  เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้สูงขึ้น 1 ขั้น
ดับเบิลแฟล็ต (Double Flat)  เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้ต่ำลง 1 ขั้น
        เนเจอรัล (Natural)  กำหนดให้ตัวโน้ตกลับสู่ระดับเสียงปกติ

         -กุญแจประจำหลัก


คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น

ประเภทของกุญแจประจำหลัก
กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียงสามชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น
รูปร่างชื่อใช้ระบุโน้ตตำแหน่งที่คาบเกี่ยว

 กุญแจซอล
กุญแจประจำหลัก G
(G-clef) เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลาง ส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง

 กุญแจโด
กุญแจประจำหลัก C
(C-clef) เสียงโดกลาง (middle C) กึ่งกลางกุญแจโด

 กุญแจฟา
กุญแจประจำหลัก F
(F-clef) เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลาง หัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด
การใช้ความแตกต่างของกุญแจประจำหลัก ก็เพื่อให้สามารถบันทึกดนตรีสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงอื่นได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะมีธรรมชาติของเสียงที่แตกต่างกัน เช่นเสียงบางอย่างอาจฟังดูแล้วสูงกว่าหรือต่ำกว่าเสียงอื่น ซึ่งเป็นการยากที่จะบันทึกเสียงทุกอย่างโดยใช้กุญแจประจำหลักเพียงชนิดเดียว เนื่องจากบรรทัดมีเพียงแค่ห้าเส้นในปัจจุบัน แต่อาจนำเสนอระดับเสียงของตัวโน้ตไม่เพียงพอต่อจำนวนโน้ตที่วงออเคสตราสามารถสร้างขึ้น แม้จะใช้เส้นน้อย(ledger line) มาช่วยก็ตาม การใช้ความแตกต่างของกุญแจสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เขียนตัวโน้ตได้ง่าย ลดจำนวนการใช้เส้นน้อย และปรับคีย์ดนตรีได้ง่าย ดังนั้นกุญแจซอลจึงใช้แทนการนำเสนอเสียงสูง กุญแจโดสำหรับเสียงกลาง และกุญแจฟาสำหรับเสียงต่ำ


ตำแหน่งของกุญแจประจำหลัก
กุญแจประจำหลักสามารถวางได้หลายตำแหน่ง ปกติแล้วจะวางไว้ให้คาบเกี่ยวกับเส้นใดเส้นหนึ่งบนบรรทัด และในเมื่อบรรทัดมี 5 เส้น จึงมีความเป็นไปได้ทั้งหมด 15 แบบในการใช้งาน อย่างไรก็ตามมี 6 แบบที่เป็นการกำหนดซ้ำซ้อนกัน ตัวอย่างเช่น กุญแจซอลที่กำกับเส้นที่สาม จะมีค่าเท่ากับกุญแจโดที่กำกับเส้นที่หนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นจึงเหลือเพียง 9 แบบเท่านั้นที่ให้ผลแตกต่างกัน ซึ่งทุกแบบเคยใช้ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ได้แก่ กุญแจซอลบนสองเส้นล่าง กุญแจฟาบนสามเส้นบน และกุญแจโดบนทุกเส้นยกเว้นเส้นที่ห้า (เนื่องจากกุญแจโดบนเส้นที่ห้าซ้ำซ้อนกับกุญแจฟาบนเส้นที่สาม)



แต่สำหรับทุกวันนี้ กุญแจที่ใช้เป็นปกติมีเพียงแค่ กุญแจเทรเบิล กุญแจเบส กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ ซึ่งสองอย่างแรกมักใช้ควบคู่กันบ่อยครั้งกว่า
อ้างอิง  
https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-5-kar-ptibati-dntri-sakl/kheruxng-hmay-laea-say-lak-sn-thang-dntri-sakl

หน่วยที่ 3 การปฏิบัติดนตรีไทย

หน่วยที่ 3 การปฏิบัติดนตรีไทย

        
                  ดนตรีไทยเป็นศิลปะของไทยแขนงหนึ่งที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน มีความผุกพันกับิถีชีวิตของคนไทยอย่างแนบแน่น ทำให้เกิดความเชื่อและขนบธรรมเนียมปฏิบัติหลายอย่างที่นักดนตรีบัติดนตรีไทยไทยทุกคนพึงรู้และศึกษาไว้ การปฏิบัติดนตรีไทยชนิดใดก็ตามในเบื้องต้นผู้ฝึกปฏิบัติต้องศึกาาเกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่องดนตรี  การปฏิบัติเครื่องดนตรี โน้ตเพลงสำหรับฝึกปฏิบัติ รวมทั้งต้องศึกาารูปแบบการบรรเลงและการขับร้องดนตรีไทย ตอกจนเกณฑ์การประเมิน ทักษะทางดนตรีของตนเอง หลังจากการฝึกปฏิบัติดนตรีไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะทางดนตรีของตนเองต่อไป


ขนบธรรมเนียมปฏิบัติของดนตรีไทย



    ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์อย่างแยกแยะไม่ได้ ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นตามภาคต่างๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชุมชนให้ความนับถือ เมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น คนในชุมชนที่มาร่วมพิธีจะเกิดความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้

พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา

พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วยความเชื่อและความศรัทธา

ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป

พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม



รูปแบบการขับร้องเพลงไทย


       เมื่อครั้งที่ผ่านมาได้นำความรู้เกี่ยวกับมารยาทการฟังเพลงไทยมาฝาก ครั้งนี้จะเป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติเบื้องต้นที่ดีในการขับร้อง เป็นความรู้เกี่ยวกับ วิธีการนั่ง การใช้กำลังเสียง การผ่อนลมหายใจ จังหวะในการแบ่งส่วนย่อยของเพลง การออกเสียงอักขระ และการออกเสียงเอื้อน
          
          ๑. การนั่ง เริ่มแรกของการฝึกท่านั่ง นั่งพับเพียบ ซึ่งเป็นลักษณะแบบไทยๆ หน้าตรง ไม่ก้มหน้า ไม่เหลียวหน้าเหลียวหลัง การนั่งพับเพียบดูเรียบร้อยงามตาตามลักษณะวัฒนธรรมไทย การนั่งตัวตรงไม่เหลียวไปมา เป็นลักษณะที่ถูกต้องตามหลักของสรีรสัทศาสตร์ คือ ช่วยให้สามารถระบายลมหายใจเข้า-ออก ได้สะดวก ช่วยให้ทุกส่วนในร่างกายปลอดโปร่ง ทำให้เสียงดังและไม่เหนื่อยแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ขับร้องเพลงไทยไม่จำเป็นต้องนั่งพับเพียบเสมอไป การนั่งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสและสถานที่ เช่นในบางโอกาสต้องนั่งเก้าอี้ ที่สำคัญคือ ต้องนั่งตัวตรงไม่เหลียวไปมาตามที่กล่าวแล้ว

          ๒. การใช้กำลังเสียง กำลังเสียงหมายถึงการออกเสียงดังอย่างเต็มที่ในช่วงระยะลมหายใจแต่ละช่วง ออกเสียงให้เต็มที่ไม่ออมแรง การฝึกให้ร้องเต็มเสียงนี้ จะทำให้รู้กำลังของตัวเองว่าช่วงหายใจแต่ละช่วงจะออกเสียงได้นานเท่าใด เพราะในขณะที่เสียงออกจะเป็นช่วงของการระบายลมหายใจออกเท่านั้น เวลาฝึกอ้าปากเล็กน้อยเพื่อให้เสียงออกได้ชัดเจนและไม่ขึ้นจมูก

          ๓. การผ่อนเลาหายใจ ช่วงระยะของการหายใจมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขับร้องเพลงไทย ควรรู้ระยะการผ่อนหายใจในแต่ละวรรค แต่ละช่วงด้วย ฝึกอ่านหนังสือให้ถูกวรรคตอน และได้ใจความ ฝึกให้กักลมหายใจไว้แล้วค่อยๆผ่อนเมื่อหมดวรรคเพราะปกติแล้ว คนเราหายใจเข้าทุกๆ ๕ วินาที แต่ถ้าเราพูดประโยคยาวๆเราเปลี่ยนอัตราการหายใจเข้าออก ปกติเราจะพูดเวลาหายใจออกเท่านั้น การผ่อนหายใจจึงมีส่วนสัมพันธ์กับกำลังเสียงเป็นอย่างมาก ถ้าเราสามารถกักลมหายใจไว้ได้นาน จะช่วยให้เอื้อนหรือเปล่งเสียงได้ยาวตามต้องการ

            ๔. จังหวะ คือการแบ่งส่วนย่อยของทำนองเพลง ซึ่งดำเนินไปด้วยเวลาอันสม่ำเสมอ จังหวะเป็นสิ่งสำคัญควรรู้จักรักษาให้ถูกต้อง คือ ให้มีความสม่ำเสมอ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป การแบ่งช่วงหายใจมีส่วนช่วยในเรื่องจังหวะเป็นอย่างมาก เคาะจังหวะเวลาร้องเพลงทุกครั้ง

            ๕. อักขะระดี ในที่นี้หมายถึงการเปล่งถ้อยคำให้ถูกต้อง ชัดเจน การร้องเพลงไทยให้ชัดเจนนั้น ดูเหมือนว่ายากกว่าการพูดให้ชัด ทั้งนี้เพราะนอกจากจะระมัดระวังการใช้อวัยวะในการกล่อมเสียง เช่น ปาก ลิ้น ฟัน ฯลฯ ให้ถูกต้องแล้ว ยังต้องระวังระดับเสียง ท่วงทำนองและวรรคตอนให้ถูกต้องอีกด้วย การฝึกอักขระควรฝึกในหัวข้อต่อไปนี้
             ก. ร้องให้ถูกตามบทริองเช่น พุทธา นุภาพ นำผล
             ข. ออกเสียง ร ล หรือควบกล้ำให้ชัดเจน
             ค. ออกเสียงสั้นยาวให้ถูกต้อง เช่น เสร็จ สนุก ฯลฯ

  ควรอ่านบทร้องก่อน โดยให้รู้จักวรรคตอนให้ถูกต้องตามลักษณะของบทร้อง ฝึกออกเสียง ร ล ฯลฯ คำสั้น-ยาว ให้ถูกต้องเสียก่อนจึงเริ่มขับร้อง
        
               ๖. เสียงเอื้อน สัญลักษณ์ของเพลงไทย คือการทำเสียงให้เป็นทำนองเรียกว่า เสียงเอื้อน เสียงเอื้อนเป็นเสียงที่ผ่านออกมาจากลำคอโดยตรง มีอยู่มากมายหลายเสียงและมีที่ใช้ต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงบางเสียงที่ใช้กันมาก
             ก. เสียงเออ เป็นเสียงสำคัญมาก คือ มีหน้าที่เป็นเสียงนำ ใช้กันมากในการขับร้อง

          วิธีทำเสียง “เออ”
    ตั้งตัวให้ตรง เพื่อประโยชน์ในการออกเสียง อ้าปากเล็กน้อย พร้อมกับเปล่งกระแสเสียงออกจากคอให้ดังพอสมควร บังคับเสียงให้มีน้ำหนักที่คอแรงหน่อย กระดกปลายลิ้นขึ้นไม่ให้โดนฟันล่าง และบน เพื่อให้เสียงโปร่งและชัดเจน ระบายเสียงออกไปเรื่อยๆอย่าให้ฟันบนและฟันล่างกระทบกันการใช้กำลังเสียงควรเป็นระดับเดียวกัน โดยไม่ต้องขยับคาง
             ข. เสียงเอย มีที่ใช้ในตอนสุดวรรค หรือหมดเอื้อน หรือวรรค ของเอื้อน จะขึ้นบทร้อง
           วิธีทำเสียง “เอย”
ลักษณะการออกเสียงเป็นไปเช่นเดียวกับการออกเสียง “เออ” แต่เมื่อจะให้เป็นเสียง “เอย” ก็ให้เน้นที่มุมปาก โดยให้ปลายลิ้นแตะฟันล่าง
( ความรู้ที่นำมาฝาก เป็นความรู้ที่ ดร. สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ และคณะ เขียนไว้ในหนังสือ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ครูพริ้ง กาญจนผลิน พ.ศ. ๒๕๒๙ )

รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย



     หลักและวิธีการบรรเลงดนตรี

                  หลักและวิธีการบรรเลงดนตรีโดยทั่วไป ได้แก่ การนั่งหรือยืนบรรเลงด้วยบุคลิกที่สง่างาม หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ไม่เกร็ง มีสมาธิ จัดท่าท่างการจับอปุกรณ์คสนตรีและปฏิบัติตามวิธีการของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
รูปแบบการบรรเลงดนตรี
                  1.การบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น บรรเลงทำนองเพลง หรือการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น
                  2.การบรรเลงหมู่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรี ๒-๙ ชิ้น โดยใช้เครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน หรือ หลายประเภท
                  3.การบรรเลงหมู่ขนาดใหญ่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรีจำนวนมากและจัดรูปแบบเช่นเดียวกับวงโยธวาทิต

                การฝึกปฏิบัติการขับร้องและบรรเลงดนตรี1.การจำเพลง ได้แก่ การออกเสียงตามสัญญาณมือ ๑-๒ แนว การออกเสียงตามโน้ตทำนองเพลง การระบุชื่อเพลงจากโน๊ตทำนองเพลงที่นักเรียนรู้จัก
                   2.การด้นสด หมายถึง การคิดแนวขับร้องและบรรเลงดนตรีใหม่โดยทันที ได้แก่ การสร้างรูปแบบของจังหวะเพื่อใช้บรรเลงเพลงประกอบทำนองเพลง ออกเสียงและบรเลงดนตรีตามโน้ตในกุญแจเสียงต่าง ๆ
การฝึกปฏิบัติการขับร้องเดี่ยว ขับร้องหมู่และขับร้องประสานเสียง
เริ่มจากการขับร้องจนสามารถขับร้องในกลุ่มได้ถูกต้อง จึงฝึกการขับร้องเดี่ยวและขับร้องเพลงปรานเสียง

                  เพลงสำหรับการขับร้องเดี่ยวและขับร้องหมู
    1. เพลงพื้นเมือง
     2.เพลงไทย
     3.เพลงสากล

                   เพลงประสานเสียง
    1.เพลงวน
    2.เพลงประสานเสียง 2 แนว
    3.เพลงประสานเสียง 3 แนว

                   การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีเฉพาะอย่าง

           1.เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงจังหวะ
       1.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น โทน กลองยาว ฉิ่ง เป็นต้น
       1.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น
       1.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น กลองเบส กลองแท็ก ฉาบ เป็นต้น

            2. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนอง
        2.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น ระนาด อังกะลุง ฉาบ เป็นต้น
        2.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาดเอก ขลุ่ย ซออู้ ฮอด้วง เป็นต้น
        2.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น เมโลเดียน คีย์บอร์ด ไวโอลีน กีตาร์ เป็นต้น

        การบรรเลงดนตรี
การรบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีสร้างทำนองเพียงเครื่องเดียว โดยมีเครื่องเคาะจังหวะบรรเลงประกอบด้วย ปกติเพลงที่ใช้บรรเลงเดี่ยวจะเป็นเพลงขับร้องและบรรเลงหมู่ทั่วไป
               ซออู้
เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ โดยเฉพาะในพิธีเชิญผีไท้ ผีแถน การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์ขึ้นให้สอดตล้องกับธรรมชาติของเสียงในขณะที่มรเสียงต่ำก็จะใช้ซออู้แทนเพื่อให้คล้ายคลึงกับเสียงผู้เฒ่า ใช้ซอด้วงแทนเสียงหนุ่มสาวซออู้แทนเสียงธรรมชาติ
ลักษณะของซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่งและใช้หนังลูกวัวขึงหน้าซอ กว้างประมาณ 13-14เซนติเมตร เจาะกโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อให่คันทวนที่ทำไม้ผ่านกะโหลกลงไปออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันลูกบอกซออู้ยาวประมาณ 17-18เซนติเมตร ใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอกเวลาสี ส่วนคันสีชองซออู้ทำด้วยไม่ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ใช้ขนหางม้าประมาณ 160-200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงามและเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้



           

กณฑ์ในการประเมินคุณภาพผลงานดนตรีไทย


       เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ของกระบวนการทางการเรียนทักษะในวิชาดนตรี โดยระบบการศึกษาเมื่อมีการเรียนย่อมมีการวัดและการประเมินผลการเรียน เพื่อให้ทราบว่า ผู้เรียนได้เรียนสิ่งใดไปบ้าง มากน้อยเพียงใด และได้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างไร สำหรับผู้สอน การวัดและประเมินผลทำให้ทราบด้วยว่า กระบวนการเรียนการสอนประสบความสำเร็จเพียงใด มีสิ่งใดที่ดีหรือสิ่งใดควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อทำให้การเรียนการสอนในครั้งต่อไปพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น การวัดและประเมินผลจึงควรมีหลักการ มีระบบ มีการจัดการที่ครอบคลุม มีความรัดกุม ความสะดวก และให้ผลตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ การวัดและประเมินผลดนตรี จึงเป็นเรื่องสำคัญและสามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้ในหลายแง่มุม

ในการวัดและประเมินผลนั้น การเรียนในวิชาทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือการประเมินผลในกระบวนการ และการประเมินผลหลังการเรียนการสอน ( กิ่งกาญจน์ สิรสุคนธ์, 25450 )ในกระบวนการเรียนดนตรีนั้นแม้ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราคาดหวังคือการแสดงออกถึงประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในภาพรวมทั้งหมด อาจเป็นการแสดงดนตรีเพื่อสอบ หรือการสอบเนื้อหาวิชาดนตรีในช่วงปลายภาคเรียน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนในระหว่างการศึกษาของผู้เรียน (อาจเห็นได้ชัดเจน ในเรื่องการเรียนทักษะทางเครื่องดนตรี) ผลการประเมินในลักษณะนี้ไม่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนได้ทันที แต่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไปที่ผู้สอน สอนในวิชานั้นๆอีกครั้งหนึ่งในอนาคตได้ ( ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2547 )เมื่อใดที่การสอนไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากผู้เรียนไม่เข้าใจ ผู้สอนก็ต้องพยายามคิดหาเทคนิคการสอน การอธิบายหรือสาธิตให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นในทันทีหรือในการเรียนชั่วโมงถัดไป

การประเมินผลในกระบวนการจึงน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนทักษะดนตรี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถของนักเรียน ซึ่งผู้สอนสามารถประเมินและปรับปรุงแก้ไขปัญหาของผู้เรียนได้ทันท่วงที ซึ่งในปัจจุบันได้มีการวัดและประเมินผลรูปแบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการวัดและประเมินตนเองได้ ซึ่งส่งผลดีหลายอย่างในกระบวนการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเรียนด้าน  เช่น นักเรียนได้มีการจัดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง รู้ถึงกระบวนการเรียน ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง เห็นถึงเนื้อหาและผลลัพธ์ทางการเรียนที่ตนจะต้องไปถึง อันเป็นผลดีต่อการจัดการทางด้านการเรียน และลดเวลาในการประเมินของครูผู้สอนอีกด้วย วิธีการนี้คือ การวัดและประเมินผลแบบ รูบริค (Rubrics)

รูบริคจะประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ช่วงชั้นความสามารถหรือเกณฑ์ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติ ทักษะต่างๆของผู้เรียน และระดับคุณภาพหรือระดับคะแนน เกณฑ์จะบอกผู้สอนหรือผู้ประเมินว่าการปฏิบัติงานหรือผลงานนั้น ๆ จะต้องครอบคลุมพิจารณาถึงสิ่งใดบ้าง ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนจะบอกว่า การปฏิบัติทักษะนั้นๆสมควรจะได้ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนใดของเกณฑ์แต่ละตัว (ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์, 2544) รูบริคจึงเป็นเหมือนการกำหนดลักษณะเฉพาะ ที่ผู้เรียนและผู้สอนได้ตั้งข้อตกลงร่วมกันก่อนการเรียนและระหว่างการเรียน

สิ่งสำคัญที่การวัดแบบรูบริค ทำได้อย่างดีเยี่ยมคือ การช่วยให้ผู้เรียนตัดสินคุณภาพทักษะทางดนตรีของตนเองและของคนอื่น ๆ อย่างมีเหตุผล เมื่อใช้รูบริคเป็นแนวทางในการประเมิน ผู้เรียนจะสามารถชี้แนะและ แก้ปัญหาเกี่ยวกับผลงานของตนและผู้อื่นได้อย่างตรงจุด การฝึกฝนซ้ำ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินทักษะของตนเองจะทำให้ผู้เรียนเพิ่มความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการฝึกฝนของตนมากขึ้น และทำให้ผู้สอนนั้นสามารถประเมินความก้าวหน้าผู้เรียนได้อย่างชัดเจน

การวัดและประเมินผลเป็นสิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนทักษะทางดนตรีควรเรียนรู้อย่างยิ่ง ผู้สอนทักษะที่เก่งควรเป็นผู้ประเมินผลที่เก่งด้วย เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทั้ง2ฝ่ายกล่าวคือ ผู้เรียนทักษะจะได้รับการพัฒนาอย่างตรงจุดมุ่งหมาย รัดกุม และครูผู้สอนก็ได้มีการพัฒนาในด้านการจัดการเรียนการสอนของตนต่อไป




อ้างอิง https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-3-kar-ptibati-dntri-thiy/kenth-ni-kar-pramein-khunphaph-phl-ngan-dntri-thiy